ประวัติ ของ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งครั้งแรกในปี 2468 ในฐานะ โรงเรียนประถมกสิกรรม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน หลังจากนั้นในปี 2470 จึงได้ย้ายไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่บริเวณบ้านโคกอีด่อย อยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในปัจจุบัน มีพื้นที่ 454 ไร่ ต่อมาในปี 2474 จึงเปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนประถมวิสามัญ ก่อนที่จะยกฐานะเป็นโรงเรียนประกาศนียบัตรจังหวัดมหาสารคามในปี 2481[1]

ต่อมาในปี 2505 จึงได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม โดยประสาทประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญาด้านการเรียนการสอน และในปี 2519 ราชการได้จัดระบบงานใหม่ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู และ พ.ศ. 2518 มีผลให้วิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษา แบ่งส่วนงานภายในเป็นคณะครุศาสตร์ ที่ได้ส่งทอดกันมาตั้งแต่ปี 2468

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” แปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[2] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” พร้อมทั้งยกฐานะคณะครุศาสตร์ที่แต่เดิมสอนเฉาะระดับประกาศนียบัตรขึ้นเป็น“คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ที่สอนในระดับปริญญาตรี[3]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[4] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[5]

ใกล้เคียง

คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://race.nstru.ac.th/nstru_portal/personnel_sec... https://www.cmru.ac.th/assets/files/act/rajabhat-u... https://edu.rmu.ac.th/n2019/ https://edu.rmu.ac.th/n2019/index.php https://edu.rmu.ac.th/n2019/index.php/about/all-ca... https://edu.rmu.ac.th/n2019/index.php/about/histor... https://edu.rmu.ac.th/n2019/index.php/site-map https://joe-edu.rmu.ac.th/